หน่วยส่งออก (Output Unit)
คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วยแสดงผลหน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์
คือ จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์
(Printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกันเพราะคอมพิวเตอร์อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์บางอย่างเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผล ซึ่งได้แก่
เครื่องขับแผ่นบันทึก เครื่องขับจานแม่เหล็ก เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น
โดยจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ตามหน้าที่ในขณะที่ทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลัก คือ
ถ้าเป็นการนำข้อมูลเข้ามาหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกอุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล
แต่ถ้าเป็นการนำข้อมูลออกจากหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกว่าอุปกรณ์แสดงผล
1. หน่วยส่งออกชั่วคราว
1.) จอภาพ (Monitor) คือ อุปกรณ์ที่แสดงผลให้ผู้ใช้เห็นในเวลาที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีจอภาพที่ใช้งานอยู่2ประเภท ได้แก่
ก. จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอนคือการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของจอภาพ ผิวของจอภาพดังกล่าวจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างที่แต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ
ข. จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ จึงเหมาะกับงานแสดงผลตัวเลข
ก. จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอนคือการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของจอภาพ ผิวของจอภาพดังกล่าวจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างที่แต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ
ข. จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ จึงเหมาะกับงานแสดงผลตัวเลข
2. หน่วยส่งออกถาวร
ที่พิมพ์ออกมาจะเป็นจุดเล็ก
ๆ อยู่ในกรอบ
2.) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป
โดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์ (Diode
Laser) จะฉายไปยังกระจกหมุนเพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว
สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสง แล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิต
ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง
ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษรตามต้องการ
3.) เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet
Printer) เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกทุกรุ่นใช้หลักการฉีดหมึกเป็นจุดเล็ก บนกระดาษ เทคโนโลยีที่ใช้ในการฉีดหมึกมี 2 แบบ ได้แก่
(ก) แบบใช้ความร้อน โดยหัวพิมพ์มีท่อส่งหมึกเล็ก ๆ หลายท่อ
ที่ตรงส่วนปลายท่อมีอุปกรณ์ทำให้เกิดความร้อนสูงด้วยกระแสไฟฟ้า
ความร้อนจะทำให้หมึกเดือดเป็นฟองพ่นออกสู่กระดาษ
(ข) แบบสร้างแรงกดดันด้วยแผ่นเพียโซ (Piezo) ซึ่งเป็นจานเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ปลายแผ่นหมึก
เมื่อต้องการจะฉีดหมึกก็ให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่น
สร้างความกดดันเพื่อบีบท่อหมึกให้ส่งหมึกออกทางปลายท่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น